PageView Facebook
date_range 30/08/2023 visibility 2867 views
bookmark HR Knowledge
สร้าง Employer Branding อย่างไร? ให้พนักงานอินไปด้วยกัน - blog image preview
Blog >สร้าง Employer Branding อย่างไร? ให้พนักงานอินไปด้วยกัน

Employer Branding เป็นสิ่งสำคัญมาก ในวงการ HR ซึ่งมีวิธีการสร้างอย่างไรให้พนักงานอินไปด้วยกันนั้น มาหาคำตอบในบทความนี้กัน


Employer Branding คืออะไร


คำว่า Employer Branding ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันในวงการ HR นั้น หมายถึง การสร้างแบรนด์นายจ้าง เพื่อสร้างภาพลักษณ์และส่งมอบคุณค่าขององค์กรให้กับพนักงานและคนภายนอกได้รู้จักและจดจำ ไม่ว่าจะเป็น ค่านิยม (Value) วัฒนธรรมองค์กร (Culture) และคุณค่าที่พนักงานจะได้รับเมื่อร่วมทำงานในองค์กร (Employee Value of Preposition)

 

โดยองค์กรที่มี Employer Branding อย่างแข็งแกร่งนั้น จะสามารถสร้างอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้สมัครงานได้อย่างมาก อาจเป็นองค์กรในฝันของใครหลายคนเลยก็ได้ หรือได้เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของผู้สมัครงานเลย


ทำไมองค์กรต้องทำ Employer Branding



ในปัจจุบัน หลายองค์กรกำลังประสบปัญหาเรื่องการสรรหาบุคลากร ที่เหล่า HR ทั้งหลายต่างรู้ดีว่า การสรรหาพนักงานนั้นมีความยากเย็นเพียงใด โดยมีปัญหาหลักๆ ดังเช่น


ปัญหาหลักๆ ในองค์กร

  • การสรรหาแบบเดิมๆ โดยผ่านโฆษณารับสมัครงานหรือบริษัทจัดหางานนั้น มีต้นทุนสูง และไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร
  • องค์กรไม่ทราบจุดขายของตัวเอง จึงไม่สามารถดึงดูดผู้สมัครที่มีคุณสมบัติที่ต้องการมาได้
  • พนักงานเดิมที่ทำงานอยู่นั้น ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน ทำให้เกิดอัตราการลาออก หรือ Turnover Rate สูง

จากปัญหาดังกล่าว การสร้าง Employer Branding จึงกลายเป็นสิ่งที่เหล่า HR สนใจทำกันเป็นอย่างมาก เพราะมีข้อดี ต่างๆ ดังเช่น


ข้อดีของ Employer Branding

  • สามารถเริ่มต้นทำได้ง่าย ไม่มีต้นทุน โดยเฉพาะในยุคที่มีการสื่อสารแบบ Social Media คนในสังคมรับทราบข้อมูลผ่าน Smart Phone หรือ Laptop เพียงปลายนิ้ว โดยไม่ต้องกังวลว่าเราเป็นองค์กรขนาดเล็ก กลาง หรือขนาดใหญ่  
  • ทำให้องค์กรมีความโดดเด่น และแตกต่างกับองค์กรคู่แข่ง ด้วยการสร้างจุดขาย ที่สามารถดึงดูดผู้สมัครเก่งๆ เข้ามาร่วมงานได้
  • จากข้อมูล LinkedIn ยังพบอีกว่า การสร้าง Employer Branding ที่ดี ช่วยให้พนักงานเต็มใจร่วมงานกับองค์กรได้ยาวนานขึ้น สามารถลดอัตราการลาออกของพนักงาน หรือ Turnover Rate ได้ถึง 28% และยังสามารถประหยัดต้นทุนในการจ้างงาน หรือ Save Cost Per Hire ได้ถึง 50% อีกด้วย

เมิ่อ HR มองเห็นแล้วว่า การสร้าง Employer Branding มีความสำคัญและมีผลดีต่อองค์กรเป็นอย่างมาก ก็มีคำถามต่อมาว่า แล้วใคร? มีหน้าที่สร้าง Employer Branding ล่ะ  จะเป็นผู้บริหารงาน HR หรือ ทีม Marketing กัน? ซึ่งเป็นคำถามที่ต้องอธิบายก่อนว่า เมื่อองค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดีแล้ว ส่งผลกระทบกับใครบ้าง เช่น คนมาสมัครงานมากขึ้น ได้เลือกพนักงานที่มีคุณภาพมากขึ้น ผลการทำงานก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น องค์กรมีชื่อเสียงมากขึ้นขายสินค้าหรือบริการได้มากขึ้น ผลประกอบการดีขึ้น ทำให้สวัสดิการองค์กรดีขึ้นด้วย ค่าตอบแทน โบนัสพนักงานและทุกคนในองค์กรล้วนได้รับผลจากการสร้าง Employer Branding ด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น คำตอบคือ “ทุกคนในองค์กรควรมีส่วนร่วมในการสร้างแบรนด์”


เทคนิคการสร้าง Employer Branding ให้พนักงานอินไปด้วยกัน



การสร้าง Employer Branding ให้พนักงานมีความรู้สึกอินไปด้วยกันนั้น ต้องผ่านการวางแผน เตรียมการที่ดี โดยเทคนิคการทำ Employer Branding นั้น มีดังนี้


1. กำหนดผู้มีส่วนร่วม

      ผู้มีส่วนร่วมหลักๆ ประกอบไปด้วย


  • ทีมผู้บริหาร ก่อนจะเริ่มดำเนินการ ทีมผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญในเรื่องการสร้าง Employer Branding พร้อมกับสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทุน บุคลากร เวลา และวิธีดำเนินการต่างๆ

  • ทีม HR ที่รู้จักองค์กรเป็นอย่างดี ก็ต้องเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างภาพลักษณ์ สร้างแบรนด์ สร้างชื่อเสียง รวมถึงประสานงานกับฝ่ายอื่นๆ ให้ทำงานได้อย่างสะดวก

  • ทีมการตลาด แน่นอนว่าทีมนี้ต้องมีส่วนร่วม เพราะเป็นทีมที่ถนัดด้านการสร้างภาพลักษณ์ สร้างการรับรู้ให้เป็นที่รู้จักในรูปแบบที่เหมาะสม

  • ทีม IT สำหรับบางองค์กรที่มีการสร้างสรรค์งาน Design ผ่านทีมนี้ พร้อมกับไอเดียเรื่องการสื่อสารผ่าน Platform ต่างๆ ที่ง่ายต่อความเข้าใจของคนภายนอก

  • ทีม Product ที่เชี่ยวชาญกับสินค้า บริการขององค์กร โดยจะต้องให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสินค้าบริการต่างๆ ในมุมมองที่ HR หรือทีมอื่นๆ ยังไม่รู้ และหาแนวคิดเพื่อเชิ่อมต่อกับงาน Design เพื่อการสร้าง Employer Branding ได้เป็นอย่างดี

 

2. วิเคราห์และวางแผนงาน

แน่นอนว่าทุกกิจกรรมย่อมมีการวางแผน ซึ่งงานนี้จะมี HR เป็นผู้เริ่มการจัดประชุม เพื่อสร้าง Employer Branding โดยมีหัวข้อที่ต้องดำเนินการ ดังเช่น


  • กำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้าง Employer Branding
  • กำหนดผลที่จะได้รับจากการสร้าง Employer Branding
  • วิเคราะห์ SWOT ขององค์กรด้วยการระดมสมอง
  • คาดคะเนภัยคุกคาม ที่อาจได้รับและต้องป้องกันไว้ ไม่ให้กลายเป็นจุดอ่อน

 

3. ดำเนินการ

ขั้นตอนนี้ HR จะดำเนินการร่วมกับฝ่ายอื่นๆ ตามแผนการที่ได้วางไว้ โดยการแบ่งหน้าที่ กำหนดระยะเวลาดำเนินการให้ออกมาเป็นรูปธรรม และต้องมีการวางกลยุทธ์สำหรับสื่อสารทั้งภายในและภายนอก ทั้งการสื่อสาร Online จากช่องทาง Social Network ต่าง ๆ การประกาศรับสมัครงานที่น่าดึงดูดใจ

 

4. ติดตามผล และสรุป

หลังจากดำเนินการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกแล้ว HR ต้องวัดผลโดยการทำแบบสำรวจความคิดเห็น โดยตัวอย่างคำถาม ดังเช่น


  • ถามพนักงานภายในว่า รู้สึกอย่างไรกับ Employer Branding จากสื่อต่างๆ ที่ได้รับ และท่านจะแนะนำเพื่อหรือคนรู้จักมาสมัครงานที่นี่หรือไม่ เพราะเหตุใด และมีส่วนใดที่ควรปรับปรุง ท่านมีความรู้สึกผูกพันกับองค์กรมาขึ้นหรือไม่ และท่านจะตัดสินใจทำงานต่อไปกับองค์กรด้วยสาเหตุใด
  • ถามผู้สมัครงานว่า ทราบข่าวการสมัครงานจากแหล่งใด
  • ถามผู้ที่เข้ามาร่วมงานกับองค์กรว่า ท่านรู้จักบริษัทผ่านช่องทางใด เหตุผลที่เลือกเข้าทำงาน โดยถามในช่วง Onboarding หรือปฐมนิเทศ

 

5. สังเกตเทรนด์ใหม่ๆ

ควรตระหนักถึงผลลัพธ์และคอยสังเกตเทรนด์ใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อสร้างความคิดใหม่ๆ ของ Employer Branding ในทุกรูปแบบการทำงาน พร้อมกับปรับปรุงงานให้เข้ากับแทรนด์ใหม่ๆ  ดังนั้น HR สามารถวางแผนการสร้าง Employer Branding ในรูปแบบใหม่ๆ ได้เสมอ โดยรับความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนร่วมต่างๆ

 

สรุปการสร้าง Employer Branding ในองค์กร


เพราะเราอยู่บนโลกที่มีแต่การแข่งขัน การสร้าง Employer Branding จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกองค์กรต้องทำในปัจจุบัน โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนในองค์กร อีกทั้งยังสร้างให้เกิดความภาคภูมิใจในผลงาน เกิดความภาคภูมิใจในการเป็นสมาชิกขององค์กรที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก โดยทุกคนที่ร่วมดำเนินการนั้น ต้องพัฒนาและเปิดรับความคิดใหม่ๆ เทรนด์ใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ และรักษาคนเก่งคนดีเอาไว้สร้างผลงานให้กับองค์กรต่อไป




hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้