หลายองค์กรมีมาตรการช่วยเหลือพนักงานด้วยการเพิ่มค่าครองชีพให้พนักงาน โดยจะช่วยอย่างไรให้ชาว HR ไม่เสียเวลาในการคำนวณเงินเดือนเพิ่มขึ้น มาดูกันในบทความนิ้เลย
ค่าครองชีพของพนักงานในองค์กร
ค่าครองชีพ คือ ค่าใช้จ่ายพื้นฐานในการดำรงชีวิต ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีค่าครองชีพที่แตกต่างกันไป และค่าครองชีพนั้นยังแปรผันไปตามเศรษฐกิจของประเทศด้วย ในหลาย ๆ องค์กรจึงนำค่าครองชีพนี้ มาเป็นสวัสดิการหรือเงินพิเศษให้กับพนักงาน เพื่อช่วยเหลือในสภาวะที่ค่าครองชีพและราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น และยังสามารถช่วยสร้างขวัญกำลังใจ บรรเทาความลำบากให้กับพนักงานผู้มีภาระทุกคน โดยมีการจ่ายค่าครองชีพหลากหลายวิธีให้องค์กรเลือกใช้ ดังเช่น
· เพิ่มค่าครองชีพให้ แยกจากเงินเดือน
เป็นวิธีที่หลายบริษัทเลือกใช้ เพราะสามารถกำหนดเงินค่าครองชีพให้กับพนักงานที่ได้รับผลกระทบได้แบบเท่า ๆ กัน และให้เป็นประจำในทุก ๆ เดือนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่เป็นวงเงินที่แยกจากเงินเดือน ซึ่งจะไม่ทำให้กระทบกับฐานเงินเดือนของพนักงาน และไม่ส่งผลกระทบต่อค่าตอบแทนประเภทอื่น ๆ
· เพิ่มค่าครองชีพเป็นเงินพิเศษให้ชั่วคราว
เป็นวิธีช่วยเหลือพนักงานที่ดีอีกวิธีหนึ่ง อาจใช้ในกรณีที่มั่นใจได้ว่าสภาวะค่าครองชีพสูงนั้นจะอยู่เพียงช่วงเวลาหนึ่ง แล้วจะกลับมาเป็นสภาวะปกติ ซึ่งองค์กรสามารถให้จ่ายเงินค่าครองชีพชั่วคราวให้กับพนักงานเป็นจำนวนหนึ่งในครั้งเดียว เงินก้อนนี้จึงไม่ถือเป็นค่าจ้าง แต่เป็นเงินช่วยเหลือพนักงานแบบสวัสดิการ
เมื่อองค์กรสามารถช่วยพนักงานแบ่งเบาภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้นได้ จะทำให้พนักงานมีความสะดวกในการทำงานมากขึ้น และการทำงานขององค์กรก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับพนักงานในรูปแบบใด ขั้นตอนการทำงานของเหล่า HR นั้น จะเพิ่มขึ้นเสมอ และใช้เวลาในการคิดเงินเดือนเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งโปรแกรมคิดเงินเดือน HumanSoft สามารถคิดค่าครองชีพพร้อมกับเงินเดือนให้แบบอัตโนมัติ ช่วยให้ HR ไม่ต้องเสียเวลาในการคิดค่าครองชีพของพนักงานทีละคน โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
การคิดค่าครองชีพอัตโนมัติ จากโปรแกรม HumanSoft
1. ตั้งค่าประเภทรายรับ
อันดับแรกคือการตั้งค่ารูปแบบรายรับ โดยรายรับที่เป็นประจำเท่าๆ กันทุกเดือน ให้ใช้รูปแบบ Constant เช่น ค่ารองชีพแบบแยกจากเงินเดือน จากนั้นตั้งชื่อประเภทรายรับ และสามารถกำหนดได้ว่าให้นำไปคำนวณกับภาษี ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินงวดพิเศษ และยังตั้งค่าการปัดเศษได้อีกด้วย
2. ตั้งค่าจำนวนเงินค่าครองชีพ
จากนั้นมาตั้งค่าจำนวนเงินที่พนักงานจะได้รับในแต่ละเดือน โดยกรอกตัวเลขไปที่ช่องประเภทรายรับค่าครองชีพที่ตั้งค่าไว้ ตามรายชื่อพนักงานที่จะได้รับ
3. ตรวจสอบก่อนคิดเงินเดือน
หลังจากตั้งค่าทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะคิดค่าครองชีพให้อัตโนมัติ ในทุก ๆ เดือนอีกทั้ง โปรแกรมคิดเงินเดือนนั้นยังเก็บข้อมูลทุกอย่างให้แบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลการขาด ลา มาสาย เวลาการทำงานอย่างละเอียด การยื่นเอกสารออนไลน์ต่าง ๆ รายรับและรายจ่ายต่าง ๆ เป็นต้น ก่อนการคิดเงินเดือน HR มีหน้าที่ตรวจสอบรายการทั้งหมดให้เรียบร้อย ผ่าน Web Browser หากไม่มีสิ่งใดผิดปกติ ก็สามารถกดคิดเงินเดือนได้อย่างรวดเร็วในคลิกเดียว
ข้อดีของการคิดค่าครองชีพแบบอัตโนมัติ
แน่นอนว่าการมีระบบคิดค่าครองชีพให้อัตโนมัตินั้นย่อมดีกว่า การที่ HR ต้องมานั่งคิดให้พนักงานทีละคน โดยข้อดีแต่ละอย่างนั้นมีอะไรบ้าง มาดูกัน
มีความสะดวก รวดเร็วมากขึ้น
ลองนึกดูว่า หาก HR ต้องมานั่งกรอกข้อมูลจำนวนเงินค่าครองชีพให้กับพนักงานทีละคนในแต่ละเดือนแล้ว คงต้องกลายเป็นภาระงานที่ยุ่งยากสำหรับ HR เลยทีเดียว เมื่อมีระบบเข้ามาช่วยในส่วนนี้ จะทำให้ภาระงาน HR ลดไปได้อย่างมากเลยทีเดียว
ประหยัดเวลาในการคิดเงินเดือน
เมื่อมีระบบทำให้การคิดค่าครองชีพสะดวกรวดเร็วมากขึ้นแล้ว ก็สามารถประหยัดเวลาในการทำงานของ HR ไปได้ด้วย ทำให้ HR มีเวลาเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะไปบริหารงานด้านอื่นได้มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนการจ้างงานขององค์กรได้อีกด้วย
เก็บข้อมูลให้อัตโนมัติ เรียกดูได้แบบ Real Time
การมีระบบคิดค่าครองชีพอัตโนมัตินั้น ยังสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของพนักงานให้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลรายรับ รายจ่าย ข้อมูลเงินเดือน และการลงเวลาเข้างานของพนักงานทั้งหมด สามารถเรียกดูข้อมูลได้แบบ Real Time สามารถนำไปรายงานหรือประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
สรุปค่าครองชีพกับโปรแกรมคิดเงินเดือน
ค่าครองชีพที่เป็นเสมือนสวัสดิการสำหรับพนักงานนั้น มีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารของแต่ละองค์กรดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพรูปแบบไหน เงื่อนไขใด โปรแกรมคิดเงินเดือน HumanSoft ก็สามารถคิดค่าครองชีพให้อัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้การทำงานของ HR มีประสิทธิภาพมากขึ้น และองค์กรก็จะพัฒนาไปตามเป้าหมายขององค์กรได้มากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน
14/03/2023 32404 views
Feature