PageView Facebook
date_range 23/07/2024 visibility 385 views
bookmark HR Knowledge
Q&A นายจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพกี่ % - blog image preview
Blog >Q&A นายจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพกี่ %

ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการส่งเงินสมทบกองทุน นายจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพกี่ % และนายจ้างต้องส่งเงินสมทบเมื่อไหร่? สามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม


Q: นายจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพกี่ %


กองทุนเงินสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดขึ้น ช่วยบังคับลูกจ้างให้ลงทุน เพื่อให้ลูกจ้างมีไว้ใช้จ่ายและมีเงินออมเมื่อยามเกษียณอายุ ทุพพลภาพ ลาออกจากงาน หรือเป็นหลักประกันให้กับครอบครัวของลูกจ้างเมื่อยามลูกจ้างเสียชีวิต โดยเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

 

เงินสะสม คือ เงินที่ “ลูกจ้าง” จ่ายเข้ากองทุนด้วยตนเอง ซึ่งจะหักจากค่าจ้างหรือเงินเดือน

เงินสมทบ คือ เงินที่ “นายจ้าง” จ่ายเข้ากองทุนให้กับลูกจ้าง ซึ่งจะจ่ายสมทบให้กับพนักงานนอกเหนือจากค่าจ้าง



A: โดยกฎหมายกำหนดให้อัตราเงินสะสมของลูกจ้าง และเงินสมทบของนายจ้าง สะสมและสมทบได้ตั้งแต่ 2 – 15 %


ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 นายจ้างมีหน้าที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่า 2% ของค่าจ้าง นายจ้างสามารถเลือกสมทบเงินเพิ่มเติมได้ ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง แต่นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง เช่น หากลูกจ้างมีเงินสะสมส่งเข้ากองทุน 20 % นายจ้างจะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้กับลูกจ้างไม่ต่ำกว่า 20 % เช่นเดียวกัน

 

เนื่องจากเงินกองทุนนี้ถือเป็นสวัสดิการเพิ่มเติมที่นายจ้างมอบให้กับลูกจ้าง นายจ้างจึงมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายเงินสมทบตามที่ตกลงร่วมกับลูกจ้างได้ โดยนายจ้างอาจจะกำหนดให้ลูกจ้างได้รับเงินสมทบมากขึ้นตามอายุงาน เช่น ลูกจ้างอายุงาน 1 – 5 ปี จะได้รับเงินสมทบ 50 % และหากลูกจ้างมีอายุงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ก็จะได้รับเงินสมทบ 100 % อีกทั้งข้อกำหนดนี้ยังสามารถสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างอยากทำงานร่วมกับองค์กรได้ยาวนานยิ่งขึ้นอีกด้วย


Q: นายจ้างต้องนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อไหร่?



A: ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีการจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง


นายจ้างจะต้องนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีการจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง หากนายจ้างส่งเงินสมทบล่าช้าเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด นายจ้างต้องจ่าย เบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 5/เดือน ของจำนวนเงินที่ส่งล่าช้าให้แก่กองทุนจนกว่าจะครบถ้วน


สรุป Q&A นายจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพกี่ %

 

โดยสรุปแล้ว นายจ้างมีหน้าที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่น้อยกว่า 2% ของค่าจ้าง นายจ้างสามารถเลือกสมทบเงินเพิ่มเติมได้ ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง สิ่งสำคัญคือ นายจ้างต้องส่งเงินสมทบไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง


กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยสร้างวินัยทางการเงินให้กับลูกจ้างเก็บไว้ใช้จ่ายเมื่อยามเกษียณได้ ดงนั้นก่อนการลงทุนใด ๆ ควรเลือกกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนและความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตัวเรา ควรศึกษาข้อมูล รายละเอียดของกองทุนให้ครบถ้วน ก่อนการตัดสินใจ เพื่อให้เราได้รับสิทธิประโยชน์และค่าตอบแทนที่คุ้มค่าในระยะยาว

โปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้