“หนังสือให้ความยินยอม” เอกสารสำคัญที่ผู้สมัครงานและ HR ไม่ควรมองข้าม เพราะการจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใดนั้น ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:
- ทำไมต้องทำ? PDPA กับ HR ในองค์กร
- ปลุก HR ให้พร้อมรับมือกับ PDPA ด้วยโปรแกรม HR
- แบบฟอร์มใบรับสมัครงานบริษัท แบบมาตรฐานทั่วไป ดาวน์โหลดฟรี
- ตัวอย่างแบบฟอร์มตารางโอที พร้อมแจกไฟล์ให้ Download ฟรี!!
- แจกฟรี! แบบฟอร์มระเบียบวาระการประชุม Download ไปใช้งานได้เลย
หนังสือให้ความยินยอม คืออะไร?
หนังสือให้ความยินยอม หรือ Consent Form คือ เอกสารที่เป็นข้อตกลงระหว่างเจ้าของข้อมูล กับองค์กร เจ้าของข้อมูลต้องให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร อนุญาตให้บุคคลหรือองค์กรอื่น เก็บ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตนได้ โดยหนังสือให้ความยินยอมต้องมีใจความที่ชัดเจน เจ้าของข้อมูลต้องเข้าใจและสามารถปฏิเสธได้
ความสำคัญของหนังสือให้ความยินยอม
คุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล
การจัดทำหนังสือให้ความยินยอมเป็นการแสดงออกถึงการเคารพสิทธิส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล เจ้าของข้อมูลมีสิทธิทราบว่าใครต้องการทราบข้อมูลส่วนตัวขอตน และสามารถตัดสินใจได้ว่าจะให้ใครเข้าถึงข้อมูลในส่วนนั้น ๆ ได้บ้าง
มีความโปร่งใสของข้อมูล
เจ้าของข้อมูลสามารถทราบและเข้าใจได้ว่าข้อมูลส่วนตัวของตนเองจะถูกนำไปใช้ในด้านใด และเจ้าของข้อมูลก็สามารถควบคุมข้อมูลในส่วนนั้น ๆ ได้อีกด้วย
ป้องกันการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิด
เจ้าของข้อมูลมั่นใจได้เลยว่าเมื่อมีหนังสือให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว สิ่งนี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่ข้อมูลของตนเองจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด หรือถูกนำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต
เป็นไปตามกฎหมาย
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหลายฉบับกำหนดให้ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนที่จะนำข้อมูลไปใช้
องค์ประกอบของหนังสือให้ความยินยอม ต้องมีอะไรบ้าง?
สำหรับเนื้อหา หรือองค์ประกอบของหนังสือให้ความยินยอม ต้องมีใจความที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ องค์กรต้องแจ้งถึงวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลไว้อย่างชัดเจน สิ่งสำคัญคือ เมื่อเจ้าของข้อมูลอ่านแล้วต้องทำความเข้าใจได้โดยง่าย องค์ประกอบของหนังสือยินยอมจะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย
- ชื่อองค์กรที่ต้องการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล
- วัตถุประสงค์ในการขอข้อมูลส่วนบุคลของเจ้าของข้อมูล
- ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่จะดำเนินการ
- ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
- ช่องทางการติดต่อหรือช่องทางการเพิกถอนความยินยอม เช่น ลิงก์ยกเลิกการสมัครที่ท้ายอีเมล องค์กรควรแนบไว้ในหนังสือยินยอมฉบับนั้น ๆ ด้วย
ตัวอย่างหนังสือให้ความยินยอม
Tips! ดาวน์โหลดหนังสือให้ความยินยอมได้ที่นี่ >> ตัวอย่างหนังสือให้ความยินยอม
สรุป แจกไฟล์ตัวอย่างหนังสือให้ความยินยอมใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
โดยสรุปแล้ว หนังสือให้ความยินยอมเป็นเอกสารสำคัญที่ HR และผู้สมัครงานไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลโดยตรง HR ควรตรวจสอบความถูกต้อง ชัดเจน ของข้อมูลในหนังสือให้ความยินยอมให้ละเอียดและรอบคอบที่สุด อีกทั้งเจ้าของข้อมูลเองเมื่อได้รับหนังสือให้ความยินยอมต้องอ่านและทำความเข้าใจเกี่ยวกับหนังสือให้ความยินยอม เพื่อให้เจ้าของข้อมูลสามารถตัดสินใจได้ว่าจะอนุญาตให้ใครทราบเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ บ้าง ดังนั้น การที่เจ้าของข้อมูลทำความเข้าใจเกี่ยวกับหนังสือให้ความยินยอมจะช่วยในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ