เจ้าของกิจการหลายคนยังมีคำถามว่า รถที่ใช้ในบริษัทต้องจัดการภาษีอย่างไร และมีเงื่อนไขใดบ้างนั้น บทความนี้มีคำตอบ
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- รวมสิทธิลดหย่อนภาษี 2566
- รู้จักกับ ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91 และขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์
- ทำธุรกิจส่วนตัวยื่นภาษี แบบไหน
- วางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างง่าย ๆ ผ่าน App HumanSoft
การจ่ายภาษีของรถที่ใช้ในบริษัท
การประกอบธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ “ยานพาหนะ” ถือเป็นสิ่งสำคัญที่นำมาใช้ภายในบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งสินค้า หรือใช้เดินทางเพื่อติดต่องานนอกสถานที่ โดยพาหนะที่นำมาใช้ในบริษัท อาจมาได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อในนามบริษัท ซื้อในนามบุคคล หรือแม้กระทั่งการเช่า ล้วนแล้วแต่ต้องจ่ายภาษีกันทั้งสิ้น หรือบางกรณีสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายใช้ประโยชน์ทางภาษีได้อีกด้วย
ประเภทการใช้รถตามความหมายของกรมสรรพากร
รูปแบบการใช้รถตามความหมายของกรมสรรพากร มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รถส่วนตัว
การใช้รถส่วนตัว ควรคำนึงว่าใช้เพื่อกิจการหรือไม่ หากเป็นการใช้ภายในบริษัท ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องจะเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้โดยไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (13) แห่งประมวลรัษฎากร
รถจักรยานยนต์
บริษัทต้องมีชื่อเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ จึงจะถือว่าเป็นการใช้เพื่อกิจการ สามารถเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้
รถยนต์มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง
สรรพากรให้ความสำคัญไปที่พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต หมวด 06.01 (รถยนต์นั่ง) และ 06.02 (รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน) ที่เกี่ยวกับรถเก๋งเป็นหลัก เช่น เจ้าของบริษัทซื้อรถหรูราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปเพื่อนำมาใช้ในกิจการ แต่สรรพากรมองว่ารถมูลค่าไม่เกิน 1 ล้านบาท ก็สามารถใช้งานได้เหมือนกัน และรถเก๋งก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจโดยตรงเหมือนรถบรรทุก รถกระบะ และรถตู้
รถยนต์มีที่นั่งเกิน 10 ที่นั่ง
พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตนั้น หมวด 06 จะเป็นพิกัดของสินค้ารถยนต์ แต่สรรพากรจะเน้นไปที่06.01 และ 06.02 เป็นหลัก เพราะมองว่า รถกระบะ รถตู้ และรถบรรทุก มีไว้ใช้เพื่อการประกอบกิจการโดยตรง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีนิติบุคคลที่เกี่ยวกับการใช้รถภายในบริษัท
ค่าใช้จ่ายที่เราต้องเจอกันเป็นประจำจากการใช้รถ ในทางภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีนิติบุคคลมีเงื่อนไขอย่างไร และแบบไหนสามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ได้บ้าง เราสรุปให้ดังนี้
ภาษีรถยนต์นั่งส่วนตัว (ของพนักงาน)
กรณีที่บริษัทให้พนักงานออกนอกสถานที่ โดยใช้รถยนต์ส่วนตัวของพนักงาน มีรายละเอียดดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- บริษัทใช้สิทธิ์ภาษีซื้อไม่ได้ เนื่องจากเป็นรถยนต์นั่ง แม้ว่าจะนำไปใช้เกี่ยวกับกิจการ แต่ยังสามารถใช้ภาษีซื้อเป็นค่าใช้จ่ายภาษีนิติบุคคลของบริษัทได้
ภาษีนิติบุคคล
- กรณีใช้รถยนต์เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง ที่สามารถพิสูจน์ได้ ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (13) บริษัทต้องมีระเบียบการเบิกค่าน้ำมัน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ภาษีรถจักรยานยนต์
กรณีที่บริษัทเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ที่นำมาใช้ภายในบริษัท พนักงานผู้ควบคุมรถ สามารถเบิกค่าน้ำมัน รวมไปถึงค่าบริการอื่น ๆ ได้ มีรายละเอียดดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์ของบริษัท สามารถใช้สิทธิ์ซื้อภาษีได้ แต่ต้องเป็น “ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ”
ภาษีนิติบุคคล
- ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกิจการโดยตรง ที่สามารถพิสูจน์ได้ ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (13)
- กรณีภาษีซื้อ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง แม้จะเป็นภาษีซื้อต้องห้าม แต่หากค่าใช้จ่ายนั้นเกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง ภาษีนั้นก็สามารถเป็นค่าใช้จ่ายได้เหมือนกัน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (13)
รถยนต์มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง
กรณีพนักงานใช้รถเก๋งของบริษัทในการติดต่อประสานงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการ พนักงานสามารถเบิกค่าน้ำมัน รวมไปถึงค่าบริการอื่น ๆ ได้ มีรายละเอียดดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- บริษัทไม่สามารถใช้สิทธิ์ภาษีซื้อได้ เนื่องจากเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ตามมาตรา 82/5 (6) ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ข้อ 2 (1)
ภาษีนิติบุคคล
- ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกิจการโดยตรง ที่สามารถพิสูจน์ได้ ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (13)
- กรณีภาษีซื้อ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง แม้จะเป็นภาษีซื้อต้องห้าม แต่หากค่าใช้จ่ายนั้นเกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง ภาษีนั้นก็สามารถเป็นค่าใช้จ่ายได้เหมือนกัน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (13)
รถยนต์มีที่นั่งเกิน 10 ที่นั่ง
กรณีบริษัทเป็นเจ้าของรถตู้ ที่ใช้ในการขนส่งพนักงานออกไปตามพื้นที่ต่าง ๆ บริษัทเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด มีรายละเอียดดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ไม่เข้าเงื่อนไขพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตของรถยนต์มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถ บริษัทใช้สิทธิ์ภาษีซื้อได้ แต่ต้องเป็น “ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ”
ภาษีนิติบุคคล
- ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกิจการโดยตรง ที่สามารถพิสูจน์ได้ ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (13)
- กรณีภาษีซื้อ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง แม้จะเป็นภาษีซื้อต้องห้าม แต่หากค่าใช้จ่ายนั้นเกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง ภาษีนั้นก็สามารถเป็นค่าใช้จ่ายได้เหมือนกัน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (13)
สรุปการจัดการภาษีสำหรับรถบริษัท
การตัดสินใจเกี่ยวกับการซื้อรถยนต์เพื่อใช้ในบริษัท ผู้ประกอบการต้องวางแผนให้ดี เพราะรถยนต์ถือเป็นสินทรัพย์ที่หลาย ๆ กิจการจำเป็นต้องมี บางแห่งถือไว้เป็นสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย และบางแห่งก็ถือไว้เป็นสินทรัพย์ที่มีไว้เพื่อดำเนินงาน ผู้ประกอบการควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องภาษีให้ครบถ้วน เพื่อถือปฏิบัติให้ถูกต้อง ลดปัญหาที่อาจจะเกิดจากการกระทำผิดกฎหมายภาษีอากร อันส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นให้กับผู้ประกอบการที่มาในรูปแบบ เบี้ยปรับ