ไขข้อสงสัยแก่นายจ้าง เมื่อพนักงานทำผิดจริงจนเป็นเหตุต้องเลิกจ้าง นายจ้างต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้หรือไม่? ไม่ออกให้ได้ไหม? มาไขคำตอบไปพร้อมกันเลย
อ่านบทความที่คุณอาจสนใจเพิ่มเติม:
- หนังสือรับรองการทำงานคืออะไร นำไปใช้ทำอะไร และขอที่ใครได้บ้าง
- แจกฟรี! "ใบผ่านงาน" และเรื่องที่นายจ้าง ลูกจ้างต้องรู้
- HR ออกหนังสือรับรองเงินเดือนให้แก่พนักงานรายวันได้หรือไม่?
- สร้างแบบฟอร์มหนังสือรับรองเงินเดือนให้กับพนักงานที่ไม่ควรพลาด
- สลิปเงินเดือนคืออะไร ใช้ทำอะไร ต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง
หนังสือรับรองการทำงาน คืออะไร
หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบผ่านงาน คือ เอกสารเดียวกัน และเป็นเอกสารสำคัญที่บริษัทออกให้พนักงานเมื่อลาออกหรือสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้ว เพื่อยืนยันประวัติการทำงานและตำแหน่งที่เคยดำรงอยู่ ซึ่งเป็นเอกสารที่จำเป็นสำหรับการสมัครงานใหม่ หรือใช้ประกอบการขอสินเชื่อนั่นเอง
Tips! อ่านบทความเพิ่มเติม >> หนังสือรับรองการทำงานคืออะไร นำไปใช้ทำอะไร และขอที่ใครได้บ้าง
พนักงานทำผิดกฎของบริษัท นายจ้างไม่ออกหนังสือรับรองการทำงานได้ไหม
พนักงานกระทำผิด หรือผิดกฎบริษัทจนถูกเลิกจ้าง แต่พนักงานร้องขอให้นายจ้างออกหนังสือรับรองการทำงานให้แก่ตนเอง กรณีนี้นายจ้างสามารถสามารถไม่ออกหนังสือรับรองการทำงานให้แก่พนักงานได้หรือไม่? อย่างไร?
คำตอบคือ ไม่ได้ หากในกรณีที่พนักงานมีความผิดจริง นายจ้างจึงสามารถเลิกจ้างได้ทันที โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (ค่าตกใจ) และถือว่าไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
และในส่วนของประเด็นหนังสือรับรองการทำงานนั้น พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้นายจ้างต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างตามสิทธิและหน้าที่ที่ระบุใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เว้นแต่กฎหมายแรงงานจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น โดยใน มาตรา 585 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระบุว่า "เมื่อการจ้างงานสิ้นสุดลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไหร่และงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร"
ดังนั้น แม้ว่านายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นายจ้างก็ยังต้องออกหนังสือรับรองการทำงาน (ใบผ่านงาน) ให้กับพนักงาน
เมื่อพนักงานลาออกนายจ้างต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้หรือไม่
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 ได้กำหนดไว้ว่า “เมื่อการจ้างงานสิ้นสุดลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไหร่และงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร”
ดังนั้น เมื่อการจ้างงานสิ้นสุดลง ไม่ว่าจะด้วยเหตุใด ลูกจ้างหรือพนักงานมีสิทธิขอหนังสือรับรองการทำงาน และนายจ้างมีหน้าที่ต้องออกให้แก่ หากนายจ้างไม่ทำตาม พนักงานหรือลูกจ้างสามารถร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อให้นายจ้างปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 14
สรุปพนักงานทำผิด นายจ้างต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้หรือไม่
กล่าวโดยสรุปคือ แม้พนักงานกระทำผิดจริงจึงเป็นเหตุให้มีการเลิกจ้างเกิดขึ้น แม้ว่านายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นายจ้างก็ยังต้องออกหนังสือรับรองการทำงาน (ใบผ่านงาน) ให้กับพนักงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 ที่กำหนดไว้ว่า “เมื่อการจ้างงานสิ้นสุดลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไหร่และงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร”