หลักเกณฑ์การคำนวณ “ค่าเบี้ยเลี้ยง” อีกหนึ่งสิ่งที่ HR ต้องให้ความสำคัญ ค่าเบี้ยเลี้ยงมีกี่ประเภท และมีเกณฑ์การคำนวณค่าเบี้ยเลี้ยงอย่างไร ไปดูตัวอย่างกันเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- คำนวณเบี้ยเลี้ยงให้กับพนักงานง่าย ๆ ด้วยโปรแกรมเงินเดือน
- รวมความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมเงินเดือน
- Checklist!! คนประเภทใดที่เข้าข่ายเป็นโรค Imposter Syndrome
- 5 ปัญหาการสื่อสารภายในองค์กรที่ต้องเร่งแก้ไข
ค่าเบี้ยเลี้ยง
ค่าเบี้ยเลี้ยง คือ เงินที่องค์กรต้องจ่ายให้กับพนักงานสำหรับรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำงานนอกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็น เบี้ยเลี้ยงอาหาร เบี้ยเลี้ยงที่พัก หรือเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีเงื่อนไขในการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงที่แตกต่างกันไปตามโครงสร้างองค์กร
ประเภทของเบี้ยเลี้ยง และตัวอย่างการคำนวณค่าเบี้ยเลี้ยง
1. เบี้ยเลี้ยงรายวัน
เป็นเบี้ยเลี้ยงที่จ่ายให้แก่พนักงานตามจำนวนวันที่พนักงานออกไปทำงานนอกสถานที่ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามระยะทางของพื้นที่ ที่พนักงานลงไปปฏิบัติงาน ค่าเบี้ยเลี้ยงรายวันมักจะคำนวณตามอัตราที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยเลี้ยงรายวัน
บริษัท C กำหนดเงินเบี้ยเลี้ยงให้กับพนักงานวันละ 100 บาท โดยกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า ไม่ขาดงาน ไม่สาย จึงจะได้รับเบี้ยเลี้ยง หากพนักงานทำงานครบตามเงื่อนไขเบี้ยเลี้ยงตามที่บริษัทกำหนด พนักงานจึงจะได้รับเบี้ยเลี้ยงดังกล่าว ดังนั้นหากพนักงานทำงานครบตามเงื่อนไขจะได้รับเบี้ยเลี้ยงดังนี้
- กำหนดเบี้ยเลี้ยงวันละ 100 บาท
- เดือนนี้พนักงานมาทำงานครบตามเงื่อนไข 15 วัน
- ดังนั้น ในเดือนนี้พนักงานจะได้รับเบี้ยเลี้ยงคือ 100 บาท x 15 วัน = 1,500 บาท
2. เบี้ยเลี้ยงอาหาร
เป็นเบี้ยเลี้ยงที่จ่ายให้แก่พนักงานเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้สำหรับค่าอาหารขณะที่พนักงานทำงานอยู่นอกสถานที่ การคำนวณเบี้ยเลี้ยงอาหารของพนักงานมัก จะใช้วิธีการคำนวณตามจำนวนเงินที่เสียจริงต่อมื้ออาหาร หรือตามวันที่พนักงานต้องออกไปทำงานนอกสถานที่
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยเลี้ยงอาหาร
บริษัท C กำหนดเงินเบี้ยเลี้ยงอาหารอัตรา 300 บาท/มื้อ และหากหนักงานต้องไปทำงานนอกสถานที่ 3 วัน ซึ่งในแต่ละวันพนักงานต้องทานอาหาร 2 มื้อ ดังนั้นหากพนักงานทำงานได้รับเบี้ยเลี้ยงดังนี้
- คำนวณจำนวนมื้ออาหารทั้งหมด: จำนวนมื้ออหารทั้งหมดที่ต้องคำนวณคือ 3 วัน X 2 มื้อ/วัน = 6 มื้อ
- คำนวณจำนวนเงินที่จ่ายจริง: ค่าเบี้ยเลี้ยงอาหารที่เสียจริงจะคำนวณจากอัตรา 300 บาท/มื้อ X ด้วยจำนวนมื้อที่พนักงานต้องทานอาหาร
- 300 บาท/มื้อ x 6 มื้อ = ดังนั้น พนักงานจะได้เบี้ยเลี้ยงอาหาร 1,800 บาท
3. เบี้ยเลี้ยงเดินทาง
เป็นเบี้ยเลี้ยงที่จ่ายให้แก่พนักงานเพื่อใช้จ่ายในการเดินทางในการไปทำงานนอกสถานที่ เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง รถไฟ หรือรถยนต์ส่วนบุคคล โดยการจ่ายเบี้ยเลี้ยงค่าเดินทางจะคำนวณตามระยะทางจริงที่พนักงานได้ลงพื้นที่ไปทำงานนอกสถานที่
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
บริษัท C กำหนดให้พนักงานได้รับเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามระยะทางที่ต้องเดินทางไปทำงานนอกสถานที่ โดยกำหนดค่าเบี้ยเลี้ยงเป็น 10 บาท/กิโลเมตร และพนักงานต้องเดินทางไปทำงานที่ตั้งอยู่ห่างจากบริษัทหลัก 200 กิโลเมตร ไปและกลับคือ 400 กิโลเมตร (200 กิโลเมตร x 2 เที่ยว)
- คำนวณระยะทางทั้งหมด: ระยะทางทั้งหมดที่พนักงานต้องเดินทางไปทำงานคือ 400 กิโลเมตร
- คำนวณจำนวนเงินที่จะได้รับ: ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางจะคำนวณจากอัตรา 10 บาท/กิโลเมตร Xด้วยระยะทางทั้งหมดที่ต้องเดินทาง
- 10 บาท/กิโลเมตร x 400 กิโลเมตร = ดังนั้น พนักงานจะได้เบี้ยเลี้ยงเดินทาง 4,000 บาท
4. เบี้ยเลี้ยงที่พัก
เป็นเบี้ยเลี้ยงที่จ่ายให้แก่พนักงานเพื่อใช้จ่ายในการพักอาศัยขณะที่มาทำงานนอกสถานที่ เช่น ค่าที่พัก และค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพักอาศัย
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยเลี้ยงที่พัก
บริษัท C กำหนดให้พนักงานได้รับเบี้ยเลี้ยงที่พักตามอัตรา 850 บาท/คืน และพนักงานต้องออกไปทำงานนอกสถานที่เป็นเวลา 2 วัน พนักงานจะได้เบี้ยเลี้ยงที่พักดังนี้
- คำนวณจำนวนวันที่ต้องพัก: จำนวนวันที่พนักงานต้องเข้าพักในโรงแรม 2 วัน
- คำนวณจำนวนเงินที่จะได้รับ: ค่าเบี้ยเลี้ยงที่พักจะคำนวณจากอัตรา 850 บาท/คืน X ด้วยจำนวนวันที่เข้าพัก
- 850 บาท/คืน x 2 วัน = ดังนั้น พนักงานจะได้เบี้ยเลี้ยงที่พัก 1,700 บาท
5. เบี้ยเลี้ยงเบ็ดเสร็จ
เป็นเบี้ยเลี้ยงที่จ่ายให้แก่พนักงานสำหรับค่าใช้จ่ายเบ็ดเสร็จทั้งหมดที่เกิดขึ้นขณะทำงานนอกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็น ค่าโทรศัพท์มือถือ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานนอกสถานที่
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยเลี้ยงเบ็ดเสร็จ
บริษัท C กำหนดให้พนักงานได้รับเบี้ยเลี้ยงเบ็ดเสร็จที่อัตรา 2,000 บาท/วัน เพื่อใช้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ขณะที่พนักงานต้องออกไปทำงานนอกสถานที่
- คำนวณจำนวนวันที่ต้องเบี้ยเลี้ยง: สมมติว่าพนักงานต้องออกไปทำงานนอกสถานที่เวลา 3 วัน
- คำนวณจำนวนเงินที่จะได้รับ: เบี้ยเลี้ยงเบ็ดเสร็จจะคำนวณจากอัตรา 2,000 บาท/วัน X ด้วยจำนวนวันที่ต้องออกไปทำงานนอกสถานที่
- 2,000 บาท/วัน x 3 วัน = ดังนั้น พนักงานจะได้เบี้ยเลี้ยงเบ็ดเสร็จ 6,000 บาท
สรุป เกณฑ์การคำนวณค่าเบี้ยเลี้ยงให้กับพนักงาน พร้อมตัวอย่าง
การคำนวณค่าเบี้ยเลี้ยงให้กับพนักงาน ถือเป็นเงินที่องค์กรต้องจ่ายให้กับพนักงานสำหรับรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำงานนอกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็น เบี้ยเลี้ยงอาหาร เบี้ยเลี้ยงที่พัก หรือเบี้ยเลี้ยงเดินทาง เป็นต้น
การคำนวณค่าเบี้ยเลี้ยง ถือว่าเป็นเรื่องที่ HR ต้องใช้เอกสารและมีขั้นตอนที่ซับซ้อน HR สามารถหันมาใช้โปรแกรมเงินเดือนในการคำนวณเบี้ยเลี้ยงให้กับพนักงานได้ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่มอบความสะดวกสบายในการคำนวณเบี้ยเลี้ยงและสามารถคำนวณในส่วนของเงินเดือน หรือเบี้ยขยันได้อีกด้วย สามารถทดลองใช้งานโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft ได้ฟรี 30 วัน